วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Llove Exhibition ณ ประเทศญี่ปุ่น


คุณคงเคยได้ยินคำว่า love hotel กันมาบ้าง เป็นภาษาอังกฤษอีกคำหนึ่งที่มาจากคำผสมใหม่ของญี่ปุ่น ไม่ต่างกับคำว่า PlayStation หรือว่า walkman ถ้าพูดกันแบบเคลียร์ๆ love hotel ก็คือ hotel for making love นั่นเอง เป็นวัฒนธรรมและปรากฏการณ์ทางurban ของญี่ปุ่นอีกอย่าง ที่มักทำให้ชาวต่างชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศทางตะวันตกนั้นรู้สึกประทับใจ แปลกใจ สนใจ หรือบางทีก็ตกใจ
โปรเจ็กต์นี้เป็นนิทรรศการร่วมระหว่างดีไซเนอร์จากญี่ปุ่นและเนเธอร์แลนด์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของการฉลองครบรอบ 400ปี ความสัมพันธ์ ญี่ปุ่น-เนเธอร์แลนด์ เมื่อ Suzanne Oxenaar มาเจอกับ Jo Nagasaka โปรเจ็กต์ Llove จึงเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาโดยเริ่มจาก ‘intentionally misreading’ คำว่า love hotel ของซูแซนน์ว่าเป็นโรงแรมแห่งความรัก ซึ่งเป็นที่มาของธีมคอนเซ็ปต์ที่ว่า ‘Still in Llove’
นอกจากนี้ตัวงานและวิธีจัดการต่างๆก็มาจากคอนเซ็ปต์ที่ซูแซนน์ได้แรงบันดาลใจมาจาก love hotel เช่น ห้องพักที่ไม่ซ้ำกัน หรือโรงแรมที่ผู้มาพักสามารถเลือกห้องได้ตามอารมณ์ เป็นต้น
ระหว่างนิทรรศการ Llove เปิด 24ชั่วโมง โดยช่วงหลังเชคเอาท์และก่อนเชคอินนั้น ห้องพักและส่วนต่างๆเปิดให้คนเข้าชมฟรี เมื่อถึงเวลาเชคอิน บริการต่างๆจะปิดเพื่อให้แขกที่มาพักมีความเป็นส่วนตัว
Daikanyama i Studio สถานที่ที่ถูกเลือกให้เป็น ‘เวที’ สำหรับงานครั้งนี้ อยู่ห่างจากสถานี Daikanyama เพียงเดินแค่สองนาที ตัวอาคารเป็นหอพักเก่าตั้งแต่ปี1968 ของจังหวัดนาราที่ไม่ได้ใช้มาเป็นเวลานาน

เมื่อเดินเข้ามาก็จะพบกับ front ของโรงแรมที่แทบจะไม่ใช้พื้นที่ ทำด้วยอคริลิคสีชมพูสะท้อนแสง มีจอมอนิเตอร์โชว์ห้องที่ว่างเป็นลักษณะของfront ที่ซูแซนน์ได้แรงบันดาลใจมาจาก love hotel ของญี่ปุ่น ใกล้ๆกับfront จะเห็นคาเฟ่ที่เปิดสู่สวนด้านหลัง ออกแบบโดย transit general office ซึ่งเป็นที่รู้จัก กับ cafe chain ชื่อดังอย่าง ‘Sign’ ในญี่ปุ่น มีโต๊ะที่แทบจะเรียกได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของ Schemata Office วางอยู่กลางคาเฟ่ เป็นการนำโต๊ะไม้แอนติคที่มีผิวขรุขระ ใช้งานยากมาดัดแปลง โดยนำสีชมพูสะท้อนแสงผสมกับ epoxy resin มาทาทำให้โต๊ะแอนติคเรียบ แต่ก็ยังมีอารมณ์ความเป็นแอนติคอยู่ เป็นการนำความขรุขระมาให้เราสัมผัสกันด้วยสายตา เป็นความflat ที่มีอารมณ์และคงความ practical เอาไว้ Jo Nagasaka พูดถึงโปรเจ็กต์ต่อว่า “พอพูดถึงคำว่า flat มักจะมีภาพขึ้นมาว่าเป็นการย่อข้อมูล เป็นการทำอะไรให้เรียบง่าย แต่ในกรณีนี้ การทำให้flat กลับเป็นการเพิ่มและสร้างความซับซ้อนให้กับข้อมูล ซึ่งต่างกับคำว่า flat ในความรู้สึกของคนทั่วไปมาก
ถ้าModernism เป็นการตามหาความชัดเจนและเรียบง่ายแล้ว Postmodernism ก็คงเป็นการแสวงหาความซับซ้อน และนี่คงเป็นตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่งของคนรุ่นใหม่ที่แสวงหาจุดบางจุดที่มีอยู่ระหว่างความเรียบง่ายและความซับซ้อน
เดินต่อขึ้นไปถึงชั้นสามซึ่งเป็นบริเวณของห้องพักเก่า ถูกนำมารีโนเวทให้เป็นห้องแบบ double bedroom 8ห้อง ที่ออกแบบโดยดีไซเนอร์ 8คน แต่ละคนจะได้รับห้องในสภาพเดียวกัน เป็นห้องแบบญี่ปุ่น โดยมีเงื่อนไขว่าจะทำอะไรกับห้องก็ได้โดยไม่เปลี่ยนโครงสร้าง

เมื่อเดินเข้าไป แต่ละห้องจะมีเจ้าหน้าที่มาให้คำอธิบาย ห้องที่ว่ากันว่าถูกจองหมดเร็วมาก คือห้องของ Yuko Nagayama ด้วยห้องที่ชื่อว่า ‘buried’ เมื่อเปิดประตูเข้าไปจะรู้สึกเหมือนอยู่อีกโลกหนึ่ง พื้นห้องถูกฝังด้วยก้อนหินสีขาวที่มีต้นไม้โผล่ขึ้นมาเป็นจุดๆ สะท้อนเข้ามาในกระจกเหนืออ่างล้างหน้าที่ถูกฝังจนเหลือเพียงอ่างที่โผล่ขึ้นมา บรรยากาศห้องเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงเหมือนกับว่าหินสีขาวนั้นได้ฝังเวลาให้หยุดอยู่ตรงนั้นด้วย



ห้องที่ชื่อว่า ‘pond’ หรือว่าบ่อน้ำ ของ Ryuji Nakamura ก็ทำให้ทึ่งไม่แพ้กัน ห้องtatami ที่ได้รับการเปลี่ยน tatami และกระดาษshoji (ประตูเลื่อนแบบญี่ปุ่น) มีเพียงแค่ด้ายพลาสติกใสบางๆที่ถูกขึงเอาไว้ไม่รู้กี่พันเส้นจนเป็นระนาบสะท้อนshojiตรงระเบียง ให้เห็นเหมือนแผ่นน้ำที่สะท้อนเงาลงไป เมื่อนั่งลงจะเห็นฟูกวางไว้ข้างใต้ระนาบ คลานเข้าไปนานแล้วจะรู้สึกเหมือนนอนอยู่ใต้แผ่นน้ำ พอยืดตัวขึ้นมาก็จะเห็นเพียงแค่หัวโผล่ออกมาจากระนาบที่ทำด้วยด้ายพลาสติก ทำให้รู้สึกเหมือนถูกปล่อยไว้ในทะเลกว้าง พอลูบด้ายพลาสติกก็จะกระทบกันสั่น ทำให้เหมือนเกิดคลื่นเป็นงานsensitiveที่มีเสน่ห์ ไม่เพียงแค่สวยล้ำแต่ยังชวนให้จินตนาการถึงวิธีใช้
ห้องข้างๆที่ชื่อว่า Little Big Room โดย Hideyuki Nakayama พอเข้าไปแล้ว ตอนแรกยังไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น เหมือนเดินเข้ามาในห้องในโรงแรมแบบญี่ปุ่นเก่าๆ ที่ยับๆ เหมือนกับว่าห้องถูกนำมาใส่ไว้ในห้องที่เล็กกว่าจนเกิดรอยยับ โดยผู้ออกแบบบอกว่า อาจจะเป็นความรักที่ทำให้ห้องใหญ่ขึ้นจนเกิดรอยยับ ส่วนวิธีทำนั้น พอเข้าไปดูใกล้ๆจะเห็นว่าทั้งห้องเป็นรูปถ่ายทั้งหมด ดีไซเนอร์ที่ดูแลโปรเจ็คต์นี้บอกกับเราว่า ถ่ายรูปห้องทั้งห้องแล้วปริ้นท์ขยายนิดนึงแล้วแปะลงไปให้เหมือนของเดิม รอยยับทั้งหมดถูกดีไซน์ไว้แล้ว



นอกจากนี้แล้วยังมีห้อง in Llove! ของ Pieke Bergmans ดีไซเนอร์จากเนเธอร์แลนด์ที่พอเข้าไปแล้ว จะได้กลิ่นช็อกโกแลต เฟอร์นิเจอร์ทุกๆอย่างอยู่เป็นคู่ติดกันเหมือนกำลังจะละลาย เตียงนอนที่บอกว่าสั่งทำมายาวพิเศษนั้น ก็ยาวจริงจนเลื้อยไปฟาดอยู่บนคาน สร้างส่วนโค้งงอทำให้เกิดสเปซที่เป็นเหมือนโซฟาและเตียงได้พร้อมๆกัน
ห้องของ Jo Nagasaka ที่ได้แรงบันดาลใจจากประวัติของ love hotel ที่มีมาตั้งแต่สมัยเอโดะนั้น เมื่อเดินเข้าไปในห้องจะรู้สึกเหมือนอยู่ในนาฬิกา มีแผ่นไม้วงกลมที่ตัดเป็นรูปเฟืองและมีเตียงวางอยู่ ดีไซเนอร์มาหมุนให้เราเห็นกัน บอกว่านี่คือ rotating bed ใกล้ๆเตียง มีก๊อปปี้รูปวาดสมัยเอโดะ วาดเป็นรูปชายหญิงอยู่บนเตียงกลมหมุน หลักฐานที่มาของ love hotel และเตียงหมุน ห้องของ Richard Hutten ดีไซเนอร์ชื่อดังจากเนเธอร์แลนด์นั้น ถูกแปะด้วยสติกเกอร์หลากสีหลากลายติดเป็นลายทาง โดยกลางห้องนั้น มีฟูกเตียงหลายลายถูกวางทับกันเป็นลายทาง ถ้าสังเกตดีๆจะเห็นคุณHuttenตัวเล็กอยู่บนเตียงด้วย ส่วนห้องของ Scholen&Baijingsนั้น เน้นโทนขาว วาดลายเส้นด้วยสีชมพู ดูสว่าง สะอาด สดใส แต่ถ้าเพิ่งดูรูปวาดดีๆแล้ว จะเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ เจ้าหน้าที่บอกกับเราว่าคอนเส็ปต์คือ re-creation สำหรับคนมีลูกยาก





นอกจากนี้ยังมีeventแปลกๆระหว่างนิทรรศการที่ชื่อว่า Llove in the Dark เป็นการนำวัฒนธรรมญี่ปุ่นอีกอย่าง ที่เรียกว่า Gokon หรือปาร์ตี้แบบญี่ปุ่น ที่มักจัดกันในหมู่นักศึกษาและคนทำงานที่มาเจอกัน โดยจุดประสงค์ของแต่ละคนนั้นต่างกันไป หาคู่บ้าง หาเพื่อนบ้าง แก้เซ็งบ้าง Llove in the Dark นั้นก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Gokon โดยมีความพิเศษตรงที่ว่า ทุกอย่างจะอยู่ในความมืด เป็นการคุยกับคนที่ไม่รู้จักสี่คนในความมืด โดยมีเจ้าหน้าที่เป็นผู้ดำเนินงาน
โปรเจ็คต์นี้เป็นทั้งตัวเลือกใหม่ของงานนิทรรศการของการรีโนเวชั่นและยังมีศักยภาพ ประยุกต์ไปเป็น business model ใหม่ที่น่าสนใจในหลายๆด้านอีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นนิทรรศการที่แสดงให้เห็นถึงมุมมองและวิธีapproach ที่แตกต่างระหว่างดีไซเนอร์ของสองประเทศที่มีเสน่ห์ไปคนละแบบ

แหล่งที่มาบทความและภาพประกอบ จากนิตยสาร art4d ฉบับเดือนกรกฎาคม 2554 และ http://www.llove.co.jp

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น