วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

FONT VS BRAND ตัวหนังสือกับแบรนด์

ตัวหนังสือกับแบรนด์ ทำไมจึงดูแพง เพราะว่าสินค้าแพง นั่นก็ใช่ แต่ไม่ใช่แค่นั้น ทุกองค์ประกอบแม้แต่โลโก้ล้วนมีส่วนทำให้สินค้าดูดีมีราคาไปด้วย ดังตัวอย่างที่เรายกมาในฉบับนี้
Louis Vuitton


คุณทราบหรือไม่ว่า ตัวอักษรโลโก้ของ Louis Vuitton พิมพ์ด้วยฟ้อนต์ที่ชื่อ Futura ซึ่งปัจจุบันสามารถมองหาได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆไป เป็นฟ้อนต์ที่ใช้ง่าย จุดเด่นของฟ้อนต์นี้คือ ตัว O มีลักษณะแทบจะเป็นวงกลมสมบูรณ์ ส่วนมุมแหลมของตัว V และ N แหลมเฟี้ยว ดูเฉลียวฉลาด จะเห็นว่าโลโก้มีการจัดวางช่องไฟระหว่างตัวอักษรใหม่ เพียงแค่นี้เองก็ให้ความรู้สึกที่เปลี่ยนไปทันที และนี่คือความลับในการจัดช่องไฟที่นักออกแบบใช้สร้างสรรค์งานอันน่าทึ่ง




Godiva


ในอดีตโลโก้ของยี่ห้อนี้พิมพ์ด้วยฟ้อนต์ Times Roman หลังจากนั้นจึงค่อยเปลี่ยนไปเป็น Trajan ซึ่งถ้าไม่ใช่แฟนตัวจริงอาจจะแทบไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง แต่พอลองเปรียบเทียบดูดีๆแล้ว Trajan ให้ความรู้สึกถึงความโก้หรูอย่างราชามากกว่า โลโก้ใหม่ล่าสุดของ Godiva นั้น นำ Trajan มาตัด Serif หรืออธิบายง่ายๆว่าตัดขาออก ผลลัพธ์คือ ภาพลักษณ์ความเป็นโรมันโบราณที่ผสมผสานกับยุคสมัยใหม่ได้ลงตัวพอดิบพอดี




Dean&Deluca


อารมณ์ของตัวอักษรแบรนด์นี้ดูแล้วเห็นได้ทันทีว่าต่างจากโลโก้ของ Louis Vuitton หรือ Godiva แต่กลับสื่อถึงความโก้หรูเหมือนกัน 
โลโก้ของ Dean&Delucaนั้นเป็นตัวอักษรในการพิมพ์สมัยก่อนที่ยังใช้แม่พิมพ์ตะกั่วนำมาเรียงเป็นคำ ทาสีแล้วกดทับลงบนกระดาษ แรงกดทับจะทำให้ตัวอักษรจมลงไปในกระดาษเล็กน้อย พ่อค้าในสมัยก่อน กล่าวกว้างๆคือยุคสมัยโรโกโก นิยมใช้เทคนิคนี้ในการทำนามบัตร ปัจจุบันตัวอักษรนี้มีชื่อเรียกอย่างตรงตัวว่า Copperplate Gothic




Vogue


อย่างที่ทราบกันว่า โลโก้ของVogueนั้นใช้ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ยุค1950 ต้นตำรับพิมพ์ด้วยฟ้อนต์ Didot ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยยังเป็นระบบเรียงพิมพ์ด้วยตัวอักษรตะกั่ว หลังจากนั้นนักออกแบบจึงนำไปดัดแปลงเพิ่มเติมเป็นฟ้อนต์ H&FJ Didot เพื่อให้ร่วมสมัยเหมาะกับยุคการพิมพ์แบบดิจิทัล จะว่าไปอักษรแต่ละตัวไม่ได้มีเอกลักษณ์โดดเด่นอะไรมาก แต่เมื่อรวมๆแล้วสัมผัสได้ถึงความสวยงามละเอียดอ่อนในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ นั่นก็คือแก่นแท้เดียวกันกับแฟชั่น
Dolce&Gabbana
ใช้ตัวอักษรเดียวกับ Louis Vuitton คือ Futura แต่ช่องไฟระหว่างตัวอักษรแน่นกว่า อาจเพราะไม่ต้องการย้ำความหรูหรา แต่เน้นความอ่อนวัยแบบคนเมือง นี่คือตัวอย่างหนึ่งของการใช้วัตถุดิบเดียวกับ แต่เล่นกับรายละเอียดต่างกันเพียงนิดเดียวก็เปลี่ยนความรู้สึกไปได้




Dior


ตัวอักษร 4ตัวนี้พิมพ์ขึ้นด้วยฟ้อนต์ Nicolas Cochin ซึ่งออกแบบมาเมื่อหนึ่งร้อยปีที่แล้ว ปัจจุบันยังถูกใช้งานอย่างต่อเนื่อง ดูเผินๆก็เหมือนฟ้อนต์ทั่วไป แต่สังเกตดีๆจะเห็นรายละเอียดที่แสดงให้เห็นความงามและคุณภาพของฟ้อนต์ ขนาดที่ว่า Dior นำมาใช้เป็นโลโก้โดยแทบจะไม่ต้องปรุงแต่งใดๆเลย
บางคนอาจมองโลโก้ทั้งหมดนี้เป็นแค่การพิมพ์ตัวหนังสือจากคอมพิวเตอร์และจัดช่องไฟ แต่จริงๆแล้ว แต่ละโลโก้ การปรุงแต่ง ปรับความหนาบาง ยืดหดความยาว และตกแต่งในรายละเอียดแบบเนียนๆ เพื่อความสมดุล เรียกว่ากว่าจะออกมาเป็นโลโก้งามสง่าแบบนี้ได้ นักออกแบบฟ้อนต์และกราฟิกดีไซเนอร์ต้องร่วมมือกันอย่างสมัครสมานสามัคคีน่าดู

1 ความคิดเห็น: