วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

UNIQLO รุ่นน้องในตลาดfast fashion ที่กำลังจะแซงหน้ารุ่นพี่



       ฟาสต์แฟชั่น หรือเสื้อผ้าแฟชั้นราคาถูกเริ่มต้นที่หลักร้อยและมีแบบใหม่ออกมาแทบทุกสัปดาห์ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับคนไทยเพราะเมื่อเกือบ 5 ปีที่แล้ว Zara ฟาสต์แฟชั่นชื่อดังจาดสเปนได้มาบุกเบิกตลาดเป็นรายแรกๆ ตามด้วย Topshop Topman, Forever 21, F Fashion และล่าสุดอีก 2 แบรนด์ใหม่เครือเดียวกับ Zara ทั้ง Stradivarius และ Bershka ก็เพิ่งเปิดตัวเมื่อปลายปีที่แล้ว
แบรนด์ Uniqlo ลงทุนลงแรงตั้งแต่จัดซื้อวัตถุดิบด้วยตนเองด้วยการร่วมมือกับบริษัท Toray ซื้อเป็นผู้ผลิตผ้าผืนที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ทั้งนี้เพื่อพัฒนาผ้าที่มีคุณสมบัติสูงอย่าง HeatTech ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในฤดูหนาว เนื่องจาดเนื้อผ้ามีลักษณะบางเบาแต่สามารถรักษาอุณหภูมิในร่างกายไว้ได้ดีกว่าผ้าทั่วๆไป จุดแข๊งของ Uniqlo คือ การผลิตสินค้ามีคุณภาพในราคาประหยัดซึ่งเป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยสินค้ากว่า 90 เปอร์เซ็นต์ผลิตในประเทศจีนด้วยการควบคุมดูแลของ Uniqlo สินค้าที่ผลิตจะเปลี่ยนรุ่นไม่บ่อยครั้งเหมือน Zara และ H&M ที่เน้นก้าวทันแฟชั่น ทำให้ Uniqlo มีไลน์สินค้าเพียงประมาณ 1000 รายการใน 1 ปีซึ่งทำให้บริหารสต๊อกสินค้าง่ายและช่วยลดต้นทุนการผลิตจากการสั่งสินค้าในปริมาณมาก ราคาสินค้าจึงย่อมเยา
Uniqlo หันมาให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าแฟชั่นเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งที่มีภาพพจน์สินค้าที่ทันสมัยกว่า มีดีไซน์เก๋ไก๋และราคาไม่แพง (cheap chic fashion) จากยุโรปที่เข้ามาในญี่ปุ่น (ปัจจุบัน ZARA มี 63 สาขา H&M มี 10 สาขาในญี่ปุ่น) ในขณะที่จุดแข็งของบริษัทอยู่ที่การซื้อผ้าเป็นจำนวนมากเพื่อผลิต functional cloth โดยประธานบริษัทเองก็ออกมายอมรับว่า Uniqlo ควรยึดติดกับ basic design สำหรับ functional cloth มากกว่ามุ่งเน้นไปที่แฟชั่นทั้งนี้เพื่อทำให้ตัวเองแตกต่างจาก ZARA และ H&M เขากล่าวว่า Uniqlo ไม่ควรละทิ้งสินค้าแฟชั่นและควรเรียนรู้จากประสบการณ์ความผิดผลาดในการขยายสาขาอย่างรวดเร็วของ Starbucks ซึ่งเป็นความผิดผลาดอันเกิดจากการขยายจำนวนสาขาของตัวเองอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะสาขาในประเทศทั้งๆ ที่ตวาดกำลังหดตัวเนื่องจากประชากรลดลง
เมื่อ Uniqlo โชว์แผนรุกตลาดเอเชีย เราได้เห็นว่าพวกเขาตั้งเป้าที่จะเปิดสาขาเพิ่มอีก 46 สาขาในปีนี้ วางเป้ายอดขายทั่วโลกกว่า 3.7 หมื่นล้านบาท เติบโตขึ้น 37 เปอร์เซ็นต์และในเดือนกันยายนนี้จะเตรียมลุยสาขาแรกในประเทศไทยที่เซ็นทรัลเวิลด์หลังร่วมทุนกับ Mitsubishi Corporation กว่า 300 ล้าน เนื่องจากตลาดไทยนั้นถือว่า มีกำลังซื้อดีและผู้คนค่อนข้างตื่นตัวกับแฟชั่น
นายนาโอกิ โอโตมะ กรรมการผู้จัดการบริษัท Uniqlo จำกัดประจำทวีปเอเชียและญี่ปุ่น ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเสื้อผ้าแบรนด์ Uniqlo เปิดเผยว่าที่ Uniqlo เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยเพราะมองว่าตลาดเสื้อผ้าและสิ่งทอโตขึ้นอย่างมีรวดเร็วและมีศักยภาพ มีมูลค่าการตลาดในประเทศไทยสูงถึง 3,198,525 ล้านบาทซึ่งถือเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย บริษัทได้มองเห็นศักยภาพของตลาดและกำลังซื้อของคนไทยที่สนใจและตื่นตัวกับการแต่งตัวและไลฟ์สไตล์มากขึ้น
สำหรับการรุกตลาดแฟชั่นในประเทศไทย ฐริษัทได้ร่วมทุนกับ Mitsubishi Corporation ด้วยเงินลงทุน 300 ล้านบาทโดย Fast Retailing Group ถือหุ้นและลงทุน 75 เปอร์เซ็นต์และ Mitsubitshi Corporation ถือหุ้มและลงทุน 25 เปอร์เซ็นต์ซึ่ง Uniqlo ตั้งใจจะเปิดสาขาในประเทสไทยมากยิ่งขึ้นโดนจะประกาศอีกครั้งเมื่อมีความพร้อม ส่วนด้านแนวทางการตลาด ในส่วนการโฆษณาและการสื่อสารนั้น Uniqlo อยู่ในระหว่างการพัฒนาแผนโฆษณา เพื่อมุ่งสร้างการรับรู้ให้ตรงตามช่วงเวลาและความเหมาะสมจนถึงวันเปิดร้าน
Uniqlo มองว่าเสื้อผ้าเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวันของผู้คน โดยเชื่อว่าแต่ละคนมีสไตล์เป็นของตัวเองมากกว่าแต่งตัวตามเทรนด์ Uniqlo เคารพในการแต่งตัวของผู้สวมใส่แต่ละคน มุ่งนำเสนอเสื้อผ้าที่มีคุณภาพมากกว่า และมุ่งที่จะเป็นแบรนด์ที่สนับสนุนไลฟ์สไตล์ของลูกค้าโดยเชื่อมั่นว่าจะประสบความสำเร็จในการสื่อสารจุดแข็งของ Uniqlo เรื่องสินค้าที่มีคุณภาพ ราคาที่จักต้องได้ และมีสไตล์เหมือนที่ได้ทำไปแล้วในญี่ปุ่น
ส่วนเรื่องการตั้งราคาสินค้าจะเหมือนราคาที่ตั้งในญี่ปุ่นแต่จะมีเพิ่มอัตราค่าภาษีนำเข้าไม่ต่างกับประเทศอื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราภาษีนำเข้าของแต่ละประเทศ ส่วนเป้าหมายการขายถือเป็นนโยบายของ Uniqlo ซึ่งไม่สามารถแจ้งเป้ายอดขายของแต่ละสาขาได้ เหมือนกับเป็นการบอกนัยๆว่าจะไม่เเพงจนน่าตกใจเหมือนบางแบรนด์ที่เคยไปซื้อที่ญี่ปุ่นแล้วถูกแสนถูก แต่มาอยู่เมืองไทยกลับกลายเป็นแพงแสนแพง
พวกเขามีเป้าหมายในการขยายตลาดโดยตลาดเอเชียถือเป็นตลาดหลักของ Uniqlo ยอดขายและกำไรจากประเทศในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) อาทิ จีน ฮ่องกง และเกาหลีใต้เติบโตในอัตราสูงและจะมีสาขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยสาขาแรกที่ไต้หวันซึ่งเปิดเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2553 มียอดขายเกินกว่าเป้าตลอดจนการทำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ในสิงตโปร์ รวมถึงสาขาแรกในมาเลเซียที่เปิดเมื่อเดือนพฤศจิกายน  ปี 2553 ก็เติบโตในอัตราที่เป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ Uniqlo มองว่าประเทศไทยเป็นตลาดสำคัญและมีศักยภาพสูงจึงตัดสินใจลงทุนและเปิดตลาดที่นี่
ก่อนหน้านี้แหล่งข่าวจากวงการผู้ผลิตและทำตลาดเสื้อผ้าแบรนด์เนมไทยกล่าวว่า จากการที่ประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางการค้า การท่องเที่ยว และเป็นแหล่งช็อปปิ้งสำคัญของภูมิภาคอาเซียนส่งผลให้ผู้ประกอบการเสื้อผ้าแบรนด์เนมชั้นนำของโลกสนใจเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดแบรนด์ Uniqlo จากญี่ปุ่นได้ร่วมพันธมิตรในไทยเตรียมเปิดร้านจำหน่ายปลีกสาขาแรกที่เซ็นทรัลเวิลด์ย่านราชประสงค์โดยจะใช้พื้นที่กว่า 2,700 ตารางเมตร และจะเปิดตัวในช่วงเดือนกันยายนปีนี้ หลังจากนั้นจะเปิดที่เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าวในเดือนตุลาคมและตามด้วยเซ็นทรัลพลาซ่า พระราม 9 ในเดือนพฤศจิกายน นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะขยายสาขาต่อไปที่ศูนย์การค้าเมกะบางนาที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างซึ่งจะมีขนาดใหญ่เช่นกัน
Uniqlo เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่ยังมีอยู่แม้ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย การขายสินค้าที่ลูกค้าต้องการย่อมได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้ามากกว่าการขายสินค้าที่ตนเองอยากขาย โดยสินค้าของ Uniqlo ไม่เพียงแต่ตอบสนองลูกค้าด้วยราคาที่ต่ำกว่าซึ่งเชื่อว่าเป็นสิ่งที่หลายๆคนต้องการในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ในแง่การสวมใส่และคุณภาพสินค้า Uniqlo ยังคงสามารถตอบโจทย์ได้ในทุกฤดูอันเป็นผลมาจากการใส่ใจตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกวัตถุดิบ เช่น ในฤดูหนาวมีเสื้อยืด HeatTech เสื้อขนแกะ เสื้อแคชเมียร์ และเเจ๊กเก็ตขนเป็ดที่ช่วยให้ความอบอุ่นแก่ผู้สวมใส่ในราคาย่อมเยากว่า ส่วนในฤดูร้อนมีเสื้อป้องกันยูวีที่ได้รับความนิยมตามกระแสการให้ความสำคัญกับสุขภาพและความงาม


แหล่งที่มาเนื้อหาและรูปภาพจาก นิตยสารวอลล์เปเปอร์ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2554 และ http://www.uniqlo.com




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น